เข้าสู่ระบบ
| สมัครสมาชิก | ส่วนช่วยเหลือ | ชำระเงิน(บัตรเครดิต) | ตรวจสอบสถานะการจัดส่งใบเสร็จ | ติดตามเรา:

ข้อมูลงานศพ

หน้าแรก > งานศพ > งานศพพล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์

กำหนดการบำเพ็ญกุศล

พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์

 

ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา

 
     
 

สวดพระอภิธรรม


 
 
วัดชลประทานรังสฤษฏ์ กรุงเทพมหานคร
 
 
วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
 
 

จึงขอกราบเรียนและเรียนเชิญมาด้วยความเคารพ

 
 
พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ
16 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 17.00 น.
ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์
 

จัดทำโดย มีสติ.com

<--- นาย ยศ ธรรมรักษ์...

พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูก... --->


แผนที่งานศพ

งานศพนี้ยังไม่มีแผนที่
  • งานศพ

    สนั่น ขจรประศาสน์

    รองนายกรัฐมนตรี
    ดำรงตำแหน่ง
    6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
    (ครม. 57 - 58 - 59) – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
    นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช -
    นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ -
    นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
    ดำรงตำแหน่ง
    5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2543
    นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย
    ดำรงตำแหน่ง
    26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
    นายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
    ดำรงตำแหน่ง
    14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2543
    นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย
    สมัยก่อนหน้า เสนาะ เทียนทอง
    สมัยถัดไป บัญญัติ บรรทัดฐาน
    ดำรงตำแหน่ง
    17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2538
    นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย
    สมัยก่อนหน้า พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
    สมัยถัดไป บรรหาร ศิลปอาชา
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
    ดำรงตำแหน่ง
    23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2537
    นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย
    สมัยก่อนหน้า สิปปนนท์ เกตุทัต
    สมัยถัดไป ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    ดำรงตำแหน่ง
    4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533
    นายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
    สมัยก่อนหน้า พลเอก หาญ ลีลานนท์
    สมัยถัดไป ชวน หลีกภัย
    รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
    ดำรงตำแหน่ง
    30 ธันวาคม พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน
    นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
    สมัยก่อนหน้า วิทยา แก้วภราดัย
    สมัยถัดไป -
    เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
    ดำรงตำแหน่ง
    10 มกราคม พ.ศ. 2530 – 17 กันยายน พ.ศ. 2543
    สมัยก่อนหน้า วีระกานต์ มุสิกพงศ์
    สมัยถัดไป อนันต์ อนันตกูล
    ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
    ดำรงตำแหน่ง
    10 สิงหาคม พ.ศ. 2543 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2548
    ข้อมูลส่วนบุคคล
    เกิด 7 กันยายน พ.ศ. 2478
    พิจิตร ประเทศไทย
    เสียชีวิต 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 (77 ปี)
    กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
    พรรคการเมือง พรรคชาติไทยพัฒนา (2552 - 2556)
    พรรคชาติไทย (2550 - 2551)
    พรรคมหาชน (2547 - 2550)
    พรรคประชาธิปัตย์ ( ? - 2543)
    คู่สมรส นางฉวีวรรณ ขจรประศาสน์
    ศาสนา พุทธ
    การเข้าเป็นทหาร
    สังกัด กองทัพบกไทย
    ปีปฏิบัติงาน ? - พ.ศ. 2520
    ยศ พลตรี
    ผมรู้จักท่านเพราะว่าสมัยที่ท่านทำงานหนังสือพิมพ์ เพื่อนผมเป็นเลขานุการของท่าน คือคุณอนุศักดิ์ แต่เขาเสียชีวิตไปก่อนแล้ว เพื่อนผมอีกคนมาเป็นเลขาท่านที่กระทรวงเกษตร คือคุณวินัย เสนียม ก็เสียชีวิต ไปก่อนแล้ว
    เมื่อสมัยเป็นวัยรุ่น พวกเรารู้จักแต่พรรคประชาธิปัตย์ ยุคนั้นยังไม่มีพรรคไทยรักไทย ส่วนพรรคอื่นๆเช่นพรรค
    ชาติไทย พรรคธรรมสังคม พรรคกิจสังคม ก็เป็นพรรคของนักธุรกิจ พรรคราชการ ผู้รับเหมา เราไม่ค่อยได้รู้จัก
    แต่ต้องถือว่าเสธหนั่นอยู่ในวงการเมืองยาวนาน มีฐานะขึ้นมาเพราะอาชีพนักการเมือง โดยเฉพาะยุคที่เป็น รมต.มหาดไทย สมัยก่อน มท.1 ใหญ่โต คุมทั้ง ตำรวจทั้งประเทศ กรมราชฑันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้า ประปา การสื่อสาร และการเมืองสมัยก่อน รมต.มีอำนาจจริง มีอิสระ
    กว่ายุคหลัง เพราะการเมืองยุคหลัง ถูกบริหารแบบพรรคคุมอีกทีหนึ่ง คือใหญ่ไม่จริง ยกเว้นคุมพรรคได้อีกชั้น
    การแต่งตั้งตำรวจ ยุคโน้นผลประโยชน์มันมาก ยุคนี้ก็เหมือนกัน มีคนเล่าให้ฟังเมื่อไม่นานมานี้ว่า ปัจจุบัน
    ถ้าจะเป็นผกก.พัทยา ต้อง 25-35 ล้าน จริงเท็จเราไม่อยู่ในวงการไม่ทราบได้ แต่ถือว่าเป็น สน.ที่วงการสีกากีเขา
    อยากเป็นกันเยอะ ออกนอกเรื่องจนได้
    จะมาไว้อาลัยท่านพล.ต.สนั่น ซึ่งท่านก็เป็นคนใจกว้าง ไม่เข้มงวด ซึ่งบางครั้งการเมือง ก็ต้องยืดหยุ่น
    ท่านเป็นคนหนึ่งที่พิทักษ์ป่า ให้เลิกโค่นไม้ หยุดให้สัมประทาน
    ขอให้ท่านไปสู่สขคติ สิ่งดีที่ทำไว้ก็จะเป็นประโยชน์กับบ้านเมือง และที่สำคัญท่านได้สร้างลูกทันเวลา
    ท่านตายในยุคที่ลูกชายเป็น รมช.ขอให้คนข้างหลังทำความดีเพื่อพ่อ สร้างผลงาน ให้ประจักษ์

    คุณ: พรชัย จงภักดี วันอาทิตย์ ที่ 16 พฤษภาคม 2556 ตอน 12:06 น.แจ้งลบ

  • งานศพ

    ประวัติสนั่น ขจรประศาสน์ เป็นชาวจังหวัดพิจิตร เคยรับราชการเป็นทหารบก เหล่าทหารม้า มียศทางทหารสุดท้ายเป็นพันโท ก่อนจะถูกให้ออกจากราชการ เมื่อ พ.ศ. 2520 เมื่อร่วมก่อการกบฏ 26 มีนาคม 2520 ซึ่งมี พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริเป็นหัวหน้า และมี พ.ท.สนั่นเป็นเลขาธิการคณะ พ.ท.สนั่นถูกจำคุกที่ เรือนจำลาดยาว จากข้อหากบฏ ทำให้ได้พบและสนิทสนมกับ พ.อ.มนูญ รูปขจร (ปัจจุบันคือ พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร) ต่อมาในภายหลังเมื่อ พ.ท.สนั่น ได้เข้าทำงานการเมือง และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ.ท.สนั่นได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็น "พลตรี"

    นายสนั่น ขจรประศาสน์ เป็นบุตรของ คุณพ่อลำพวน คุณแม่ยศ ขจรประศาสน์ มีพี่น้อง9 คน คือ

    นางสาวสมพงษ์ ขจรประศาสน์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    นางสมพร ชูธรรม (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    นายสมปอง ขจรประศาสน์ ดำรงตำแหน่งกำนัน ตำบลวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    ศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ ขจรประศาสน์ ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    นายเสนีย์ ขจรประศาสน์(ถึงแก่กรรมแล้ว)
    นายสนั่น ขจรประศาสน์
    พล.ต.สนั่นสมรสกับ นางฉวีวรรณ ขจรประศาสน์ มีบุตร-ธิดารวม 4 คน คนที่ 3 เป็นบุตรชายเข้าสู่วงการเมือง คือ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ หรือ "ลูกยอด" อดีต ส.ส.พิจิตร เขต 3 พรรคมหาชน ส่วนบุตรสาวอีก 3 คนคือ นางสาวบงกชรัตน์ ขจรประศาสน์, นางสาวปัทมารัตน์ ขจรประศาสน์ และนางสาววัฒนีพร ขจรประศาสน์

    พล.ต.สนั่นมีธุรกิจส่วนตัวคือ ฟาร์มนกกระจอกเทศชื่อ "ขจรฟาร์ม" ซึ่งเป็นฟาร์มนกกระจอกเทศที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังทำไร่องุ่นดงเจริญ และผลิตไวน์ชื่อ "ชาโต เดอ ชาละวัน" ซึ่งสอดคล้องกับรสนิยมส่วนตัวที่ทราบกันทั่วไปคือชอบดื่มไวน์

    [แก้] ปัญหาสุขภาพพล.ต.สนั่น ป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพอง เกิดอาการหัวใจวายกะทันหัน จนครอบครัวต้องนำส่งโรงพยาบาลนนทเวช เมื่อกลางดึกของวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 แพทย์ต้องปั๊มหัวใจให้ฟื้นชีพ แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงย้ายไปโรงพยาบาลศิริราช[2]

    พลตรีสนั่น ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ เมื่อเวลา 17.09 น. วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 จากภาวะแทรกซ้อนจากอาการถุงลมโป่งพอง

    [แก้] การเมือง[แก้] กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520ในเหตุการณ์กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 ที่มีความพยายามโค่นล้มรัฐบาลชุดที่มีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี จาก พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ แต่ไม่สำเร็จ พล.ต.สนั่น ซึ่งในขณะนั้นมียศเป็น พันโท (พ.ท.) ได้เข้าร่วมกับฝ่ายกบฏด้วย

    ภายหลัง เมื่อถูกจับ ถูกตัดสินจำคุกซึ่งต่อมาได้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตร่วมกับผู้ก่อการคนอื่น ๆ แต่ภายหลังทั้งหมดได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปีเดียวกัน[3]

    [แก้] กรณีกลุ่มงูเห่าและพรรคประชากรไทยปลายปี พ.ศ. 2540 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ถูกแรงกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เนื่องจากการลดค่าเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และตัดสินใจลาออกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ในเวลานั้นพรรคร่วมรัฐบาล ที่ประกอบด้วย พรรคความหวังใหม่, พรรคชาติพัฒนา, พรรคชาติไทย, พรรคประชากรไทย, พรรคกิจสังคม ตกลงร่วมกันที่จะสนับสนุน พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา อดีตนายกรัฐมนตรี ให้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่ทางพรรคฝ่ายค้านที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ และมีจำนวนส.ส.น้อยกว่าพรรคความหวังใหม่เพียง 2 เสียง ก็มีความพยายามที่จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลด้วยเช่นกัน

    วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 นายเสนาะ เทียนทอง เลขาธิการพรรคความหวังใหม่ ได้จัดแถลงข่าว ยืนยันการจัดตั้งรัฐบาล โดยมี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ชั้นล่างของทำเนียบรัฐบาล แต่ในเวลาเดียวกัน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก็เปิดแถลงข่าว เรื่องการจัดตั้งรัฐบาลด้วย โดยมีเสียงสนับสนุนจากพรรคกิจสังคมของ นายมนตรี พงษ์พานิช ที่ย้ายฟากมาจากพรรคร่วมรัฐบาลเดิมอย่างกะทันหัน และมีตัวแปรสำคัญคือ ส.ส. พรรคประชากรไทย จำนวน 12 คน นำโดย นายวัฒนา อัศวเหม และ นายฉลอง เรี่ยวแรง ที่เข้าร่วมสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่หัวหน้าพรรคประชากรไทย คือ นายสมัคร สุนทรเวช ไม่ทราบมาก่อนและยังสนับสนุนฝ่าย พล.อ.ชาติชาย ทำให้สถานการณ์พลิกกลับอย่างรวดเร็ว กลายเป็นเสียงทางฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์มีมากกว่า และทำให้นายชวน หลีกภัย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 ในที่สุด

    หลังเหตุการณ์ครั้งนี้ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ได้กล่าวเปรียบเทียบว่า ตนเป็นเหมือนชาวนาในนิทานอีสป เรื่อง "ชาวนากับงูเห่า" ที่เก็บงูเห่าที่กำลังจะตายจากความหนาวเย็น มาไว้ในอกเสื้อเพื่อให้ความอบอุ่น แต่ต่อมางูเห่านั้นก็ฉกชาวนาตาย ซึ่งนายสมัครเปรียบเทียบกับ แกนนำของ ส.ส. ทั้ง 12 คน โดยเฉพาะ ส.ส.กลุ่มปากน้ำ ของนายวัฒนา อัศวเหม ซึ่งเดิมสังกัดพรรคสามัคคีธรรม แต่ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ไม่มีพรรคใดรับเข้าสังกัด จนในที่สุดมาเข้าสังกัดพรรคประชากรไทย ที่นายสมัครเป็นหัวหน้าพรรค และต่อมามีการตัดสินใจทางการเมือง ที่ขัดต่อมติพรรคดังกล่าว ทำให้ต่อมาสื่อมวลชน เรียก ส.ส. 12 คนนี้ตามคำพูดของนายสมัครว่า "กลุ่มงูเห่า" อยู่เป็นเวลานาน

    ต่อมามีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่า ส.ส. พรรคประชากรไทยทั้ง 12 คน มีสิทธิตามกฎหมาย ที่จะตัดสินใจทางการเมืองโดยอิสระ เช่น การสนับสนุน นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามมติพรรค หรือความต้องการของหัวหน้าพรรคการเมืองที่ตนสังกัด การรวบรวมเสียง ส.ส. จนสามารถสนับสนุน นายชวน หลีกภัย ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 ได้สำเร็จครั้งนี้ ทำให้ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้รับการกล่าวขานถึงในฐานะผู้มีเหลี่ยมคูทางการเมือง และเป็นกรณีศึกษาหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย

    [แก้] ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปีนายอดิศร เพียงเกษ ส.ส.จังหวัดขอนแก่น พรรคความหวังใหม่ ได้เปิดเผยข้อมูลระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจพลตรีสนั่น ว่า พลตรีสนั่น แสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จ ต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยระบุว่ามีการกู้ยืมเงินจำนวน 45 ล้านบาท จากบริษัท เอเอเอส ออโต้เซอร์วิส ทั้งที่ไม่มีการกู้ยืมจริง

    ต่อมา นายวีระ สมความคิด ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพประชาชน ได้ยื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช. ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง จนคดีเข้าสู่ กระบวนการทางกฎหมาย และต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยเป็นเอกฉันท์ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ว่า พล.ต.สนั่น มีความผิด ฐานจงใจแสดง บัญชทรัพย์สินอันเป็นเท็จ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 295 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[4]

    จากการถูกดำเนินคดีทางการเมืองดังกล่าว ทำให้ พล.ต.สนั่น ต้องลาออกจากตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นมายาวนานถึง 13 ปี โดยมี นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เข้ารักษาการตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นเวลาสั้นๆ และต่อมา นายอนันต์ อนันตกูล ได้รับเลือกให้ขึ้นดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2543

    [แก้] ก่อตั้งพรรคมหาชนหลังการถูกตัดสิทธิทางการเมือง พล.ต.สนั่น ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และในที่สุดได้ก่อตั้ง พรรคมหาชน ขึ้น โดยมี ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 และต่อมา พล.ต.สนั่น ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อมา

    [แก้] ร่วมงานกับพรรคชาติไทยวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พล.ต.สนั่น พร้อมด้วย นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชาย และสมาชิกพรรคมหาชน เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันไม่เอื้อต่อการดำเนินงานของพรรคการเมืองขนาดเล็ก ถือเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานของพรรคมหาชนไปโดยบริยาย[5]

    ต่อมาในการร่วมรัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 พล.ต.สนั่นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และรัฐบาลนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ [6]

    [แก้] ร่วมงานกับพรรคชาติไทยพัฒนาในวันที่12 มีนาคม พ.ศ. 2555 พล.ต.สนั่น ในฐานะประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ประกาศยุติบทบาททางการเมือง โดยขอยุติการทำหน้าที่ในฐานะ ส.ส. แต่ยังคงพร้อมที่จะช่วยงานในส่วนของพรรค และงานการเมืองของประเทศต่อไป[7]

    [แก้] การปรองดองทางการเมือง ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้
    [แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
    เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
    - เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1
    เหรียญจักรมาลา
    เหรียญสนองเสรีชน

    คุณ: pornchai วันอาทิตย์ ที่ 16 พฤษภาคม 2556 ตอน 12:09 น.แจ้งลบ

ท่านสามารถร่วมไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิตได้ที่นี่

ชื่อของท่าน *

อีเมลล์ของท่าน

คำไว้อาลัย *


(เฉพาะสมาชิกเท่านั้น จึงจะสามารถแนบรูปคู่กับคำไว้อาลัยได้)


กรุณากรอกตัวอักษรที่ปรากฏ *

เงื่อนไขการร่วมไว้อาลัย

ข้อความไว้อาลัยทั้งหมด เกิดจากการเขียนโดยสาธารชน และทำการส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ ทาง mesati.com ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้ไว้อาลัยที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้ร่วมไว้อาลัยท่านอื่นจึงควรใช้วิจารญาณในการอ่านคำไว้อาลัย ถ้าหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฏหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อผู้เสียชีวิต หรือ ญาติมิตรของผู้เสียชีวิต กรุณาส่ง email มาที่ suppport@mesati.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบ ขอขอบพระคุณผู้ใช้บริการ mesati.com ทุกท่าน ณ โอกาสนี้

ตะกร้าสินค้า

ไม่มีพวงหรีดในตระกร้าของท่าน

อัลบั้มงานศพ


ยังไม่มีอัลบั้มในงานศพนี้
เพิ่มเพื่อน
  • เว็บในเครือ



มีสติบนสื่อไทย