เข้าสู่ระบบ
| สมัครสมาชิก | ส่วนช่วยเหลือ | ชำระเงิน(บัตรเครดิต) | ตรวจสอบสถานะการจัดส่งใบเสร็จ | ติดตามเรา:

บทความมีสติ

หน้าแรก > บทความมีสติ > การขอพระราชทานเพลิงศพ
 บทความมีสติ
 การขอพระราชทานเพลิงศพ
เขียนเมื่อ : 12 มิ.ย. 2566 14:49:56 (อ่าน: 5835 ครั้ง)

การขอพระราชทานเพลิงศพ
 

ผู้มีสิทธิ์ได้รับพระทานน้ำหลวง เพลิงหลวง และ หีบเพลิง ต้องมีตำแหน่งชั้น
และ ยศ ดังต่อไปนี้
1. พระสมณศักดิ์ ตั้งแต่ชั้น " พระครูสัญญาบัตร " ขึ้นไป
2. พระราชวงศ์ ตั้งแต่ ชั้น " หม่อมเจ้า" ขึ้นไป
3. ผู้ได้รับพระทานบรรดาศักดิ์
4. ราชการพลเรีอน สามัญชั้นตรี ขึ้นไป
5. ข้าราชการฝ่ายทหาร ตำรวจ ยศชั้นร้อยตรีขึ้นไป
6. พนักงานเทศบาลตรี ขึ้นไป
7. ผู้ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ตั้งแต่ "เบญจมาภรณ์มงกฏไทย" (บ.ม.) ขึ้นไป
8. ผู้มีเกียตริที่ได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์ "จุลจอมเกล้า" (จจ.) หรือ"ตราสืบตระกูล" (ต.จ.) ขึ้นไป
9. ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญ "รัตนาภรณ์" รัชกาลปัจจุบัน
10. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกเทศบาลที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง
11. รัฐมนตรี ถึงแก่อนิจกรรมในขณะดำรงตำแหน่ง
12. ผู้ที่ทรงโปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษ

การขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษ
ผู้ที่สมควรได้รับการพิจารณา ในการขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษควรอยูในหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ผู้ที่อยู่ในราชสกุล ชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง
2. พระสงฆ์ที่พระราชาคณะพิจารณาขอพระราชทานให้
3. พนักงานรัฐวิสาหกิจระดับสูง
4. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญราชรุจิ เหรียญกล้าหาญและเหรียญชัยสมรภูมิ
5. ผู้ที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ เช่น ศิลปินแห่งชาติ นักกีฬาระดับชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตสภาร่างรัฐธรรมนูญ อดีตสภาจังหวัด หรืออดีตสมาชิกสภาเทศบาล
6. ผู้ทำคุณประโยชน์ เช่น บริจาคเพื่อการกุศลคิดเป็นมูลค่า ไม่น้อยกว่า บริจาคร่างกาย หรืออวัยวะ
7. บิดามารดาของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ระดับ ๖ หรือเทียบเท่าขึ้นไป บิดามารดาของผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ "ตริตาภรณ์ช้างเผือก" (ต.ช.) ขึ้นไป
9. บิดามารดาของพระสมณศักดิ์ ตั้งแต่ชั้น " พระครูสัญญาบัตร " ขึ้นไป บุคคลผู้ทำลายชีพตนเองไม่พระราชทานเพลิงและเครื่องประกอบเกียรติยศ

Audemars Piguet Replica Watches

ขั้นตอนพระราชทานเพลิงศพ
การขอพระราชทานเพลิงศพ มี ขั้นตอน ดังนี้

1. การขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ

เจ้าภาพ หรือทายาท จะต้องจัดดอกไม้ กระทง ๑ กระทง ธูปไม้ระกำ ๑ ดอก เทียน ๑ เล่ม มีพานรองพร้อม ไปกราบถวายบังคมทูลลา พร้อมด้วยหนังสือกราบบังคมทูลลา โดยติดต่อที่กองพระราชพิธีสำนักพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมนำใบมรณบัตรและหลักฐานที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขั้นสูง สุดที่ได้รับไปแสดงแก่เจ้าหน้าที่ เพื่อการจัดชั้นของเครื่องเกียรติยศประกอบศพได้ถูกต้อง ส่วนพระสมณศักดิ์ ไม่ต้องมีดอกไม้ธูปเทียน เป็นหน้าที่ของกรมการศาสนา แจ้งการมรณภาพ และขอพระราชทาน

---------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวอย่างหนังสือกราบบังคมทูลลา
วันที่..........เดือน..........................................พ.ศ........
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ดอกไม้ธุปเทียนของข้าพระพุทธเจ้า.......(ชื่อผู้ถึงแก่กรรม).......................
.....................................
เครื่องราชอิสริยาภรณ์.......................................อายุ.............ปี
ข้าราชการ.........................ชั้น.................
สังกัด.................................................................

ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลา............................ด้วยโรค..............
.........................................
ที่....................................................อำเภอ............................จังหวัด...
........................................................
เมื่อวันที่............เดือน.............................................พ.ศ....................เว
ลา................น.
ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ
(หมายเหตุ หนังสือกราบบังคมทูลลานี้ ไม่ต้องลงนามท้ายหนังสือ)

-------------------------------------------------------------------------------------------------

2. การขอพระราชทานเพลิงศพ

2.1. การขอพระราชเพลิงศพ : เจ้าภาพ หรือ ทายาทผู้ประสงค์ขอพระราชทานเพลิงศพ จะต้องทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงเจ้าสังกัดของผู้ถึงแก่กรรมโดยระบุ
ก. ชื่อ ตำแหน่ง ชั้น ยศ ของผู้ถึงแก่กรรม
ข. ถึงแก่กรรมด้วยโรคระไร ที่ไหน เมื่อใด
ค. ได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์ อะไรบ้าง มีความประสงค์จะขอรับพระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบศพอย่างใดบ้
จ. ประกอบการฌาปนกิจศพที่วัดไหน จังหวัดไหน เวลาใด


2.2 การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ : เจ้าภาพหรือทายาท ผู้ประสงค์ขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษ
ต้องทำหนังสือถึงเลขาธิการพระราชวัง โดยระบุ
ก. ชื่อ-สกุล และประวัติโดยย่อของผู้ถึงแก่กรรม
ข. ถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร ที่ไหน เมื่อใด
ค. ระบุคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ
หรือคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การพิจารณาการขอพระราชทานเพลิงศพเป็
ง. ระบุ วัน เวลา สถานที่ที่จะประกอบการฌาปนกิจ


หลักฐานที่ต้องนำมาแแสดง
ในการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ มีดังนี้
- ใบมรณะบัตรของผู้ถึงแก่กรรม
- ทะเบียนบ้านของทายาทของผู้ถึงแก่กรรม
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการของทายาทของผู้ถึงแก่กรรม
- หนังสือรับรองจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ใบอนุโมทนาบัตร ใบประกาศเหรียญกล้าหาญหรือเหรียญชัยสมรภูมิ ทั้งนี้ ต้องนำเอกสารต้นฉบับและสำเนาแนบมาพร้อมกับหนังสือด้วย


2.3 ติดต่อวัดเพื่อเตรียมการพระราชทานเพลิงศพ
นอกจากนี้การขอพระราชทานเพลิงศพ จะต้องไม่ตรงกับวันเฉลิมพระชนพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ พระราชพิธีฉัตรมงคล (และตามประเพณีนิยมไม่มีการเผาสพในวันศุกร์)
ผู้มีสิทธิได้รับพระราชทานเพลิงศพถ้าจะพระราชทานเพลิงศพในต่างจังหวัด ยกเวันเขตปริมณฑลใกล้กรุงเทพฯ ทางสำนักพระราชวังจะได้จัดหีบเพลิงให้กระทรวงเจ้าสังกัดรับส่งไปพระราชกรณี พระราชทานเพลิงในกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑลใกล้กรุงเทพฯ ในระยะไม่เกิน ๕๐ กม. สำนักพระราชวังจะได้จัดเจ้าพนักกงานเพลิงหลวงไปพระราช
ทานโดยรถยนต์หลวง ทั้งนี้ เจ้าภาพไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นในการพระราชทานเพลิงศพ


สำหรับ เครื่องประกอบเกียรติยศ ได้แก่ หีบ โกศ ฉัตร นั้น ทางสำนักพระราชวังจะได้เชิญไปประกอบ และแต่งตั้งไว้มีกำหนดเพียง ๗ วัน เมื่อพ้นไปแล้วเจ้าภาพหรือทายาทยังไม่กำหนดพระราชทานเพลิง ถ้าทางราชการมีความจำเป็นก็จะถอนส่วนประกอบรองนอกของหีบโกศไปใช้ในราชการต่อ

สำนัก พระราชวังได้มีคำสั่งให้กองพระราชพิธีปฎิบัติเกี่ยวกับเรื่องการศพ ของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบศพชั้นโกศ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ ไว้ดังนี้

กองพระราชพิธี

เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้ถึงแก่กรรมได้รับพระราชทานเกียรติยศประกอบศพชั้นสูง ในระดับพระราชทานโกศ
ผู้ถึงแก่กรรมได้รับพระราชทานเกียรติยศประกอ บศพชั้นสูงในระดับพระราชทานโกศ แต่ทายาทได้รับคำสั่งจากผู้ที่ถึงแก่กรรมว่า มีความประสงค์ให้บรรจุลงหีบแล้วขอพระราชทานตั้งโกศประกอบเกียรติยศ ครั้นถึงกำหนดพระราชทานเพลิงศพทางเจ้าหน้าที่กองพระราชพิธีไม่ยินยอมให้ตั้ง โกศบนจิตกาธานโดยปราศจากร่างผู้ถึงแก่กรรม เลขาธิการพระราชวังได้ปรึกษากับผู้พิจารณาว่าควรที่จะยินยอมให้ตั้งโกศ ของผู้ตายบนจิตกาธานได้ ในกรณีที่ผู้ตายบรรจุหีบโดยนำหีบใส่ไว้ในเตาเผาก่อนถึงพิธีการ โดยเหตุผลที่ว่าโกศเป็นเครื่องเกียรติยศและเป็นเครื่องหมายแห่งผลการที่ไ
หรือการทำประโยชน์ ให้กับบ้านเมื่องมาตลอด จึงไม่มีความจำเป็นที่จะมีร่างของผู้ตายอยู่ในนั้น ให้ถือปฎิบัติตั้งแต่บัตินี้เป็นต้นไป

เครื่องประกอบเกียรติยศที่จัดพระราชทาน

เจ้าภาพไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ได้แก่
1. เครื่องขมาศพ
3. รถวอประเทียบเชิญศพ
4. โกศเกียรติยศประกอบศพ
5. ฉัตร แห่เวียนเมรุ ปี่ กลองชนะ ประโคมแห่เวียนเมรุและประโคมเวลารับพระราชเพลิงศพ
6. เจ้าพนักงานปฎบัติ
7. พาหนะ รับ-ส่ง เจ้าพนักงานผู้ปฎิบัติ

หมายเหตุ

ศพใดได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสยาภรณ์ตั้งแต่ "ประถมาภรณ์ช้างเผือก"(ป.ช.) จะได้รับพระราชทานผ้าไตรของหลวงทอดถวายพระบังสุกุล ก่อนรับพระราชทานเพลิง ๕ ไตร

ข้อแนะนำการปฎิบัติเกี่ยวกับการพระราชทานหีบเพลิง ไปพระราชทานเพลิงศพยังต่างจังหวัด ตามระเบียบที่สำนักพระราชวังได้วางไว้ เมื่อกระทรวงเจ้าสังกัดหรือผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีหนังสือแจ้งมายังสำนัก พระราชวังเพื่อขอ
พระราชทานเพลิงศพ หากศพนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานเพลิง สำนักพระราชวังจะมีหนังสือแจ้งให้กระทรวงเจ้าสังกัดหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณีที่ขอมานั้น ส่งเจ้าหน้าที่ไปขอรับหีบเพลิงพระราชทานได้ที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เมื่อทางจังหวัดได้รับหีบเพลิงพระราชทานไปแล้วต้องปฎิบัติการตามลำดับ

1. เชิญหีบเพลิงพระราชทานนั้น นำไปไว้ที่ศาลาว่าการจังหวัดหรืออำเภอแล้วแต่กรณีโดยตั้งไว้ในที่อันสมควร และมีพานรองรับหีบเพลิง พระราชทานนั้นด้วย

2. ควรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าภาพศพนั้น ๆ ทราบว่าตามที่ขอพระราชทานเพลิงศพไปนั้นได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานแล้ว

3. เมื่อถึงกำหนดวัน เวลา ที่จะประกอบพิธีพระราชทานเพลิง ทางจังหวัดหรืออำเภอจะต้องจัดเจ้าหน้าที่แต่งเครื่องแบบปกติขาวไว้ทุกข์ เชิญหีบเพลิงพระราชทานพร้อมด้วยพานรองรับ (หนึ่งหีบต่อหนึ่งคน) ไปยังเมรุที่จะประกอบพิธี
(ก่อนที่จะเชิญไปตั้งบนเมรุจะต้องยกศพขึ้นตั้งเรียบร้อยแล้ว) ตั้งพานหีบเพลิงพระราชทานนั้นไว้ทางด้านศีรษะศพ
(บนโต๊ะที่ตั้งหีบเพลิงพระราชทานนั้นจะต้องมีผ้าปูให้เรียบร้อยและห้ามมิให้ นำสิ่งใดวางร่วมอยู่ด้วย เป็นอันขาด) เมื่อวางหีบเพลิงพระราชทานเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่เชิญหีบเพลิงพระราชทาน คำนับศพหนึ่งครั้ง แล้วลงจากเมรุ

4. ขณะที่เชิญพานหีบเพลิงพระราชทานไปนั้น จะต้องระมัดระวังกริยามารยาทให้เป็นไปโดยสำรวม ไม่พูดคุยกับผู้ใด
ไม่ต้องทำความเคารพผู้ใด และต้องไม่เชิญหีบเพลิงพระราชทานตามหลังผู้อื่น

5. เมื่อถึงกำหนดเวลาพระราชทานเพลิง ให้เจ้าภาพเชิญแขกผู้มีอาวุโสสูงสุด ณ ที่นั้น ขึ้นไปประกอบพิธีพระราชทานเพลิง (หาก ณ ที่นั้นมีพระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ก็ให้เชิญพระราชวงศ์นั้นทรงเป็นประธานในพิธี) ในระยะเวลาก่อนเจ้าภาพจะเชิญผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่ตาม ข้อ

5. นั้น ให้เจ้าหน้าที่ผู้เชิญหีบเพลิงพระราชทานขึ้นไปรออยู่บนเมรุก่อน เมื่อผู้เป็นประธานทอดผ้าไตรมหาบังสุกุลและพระภิกษุได้ชักผ้าบังส

 

ท่านสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

ชื่อของท่าน *

อีเมลล์ของท่าน

ความคิดเห็น *


(เฉพาะสมาชิกเท่านั้น จึงจะสามารถแนบรูปคู่กับความคิดเห็นได้)


กรุณากรอกตัวอักษรที่ปรากฏ *

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น

การแสดงความคิดเห็นทั้งหมด เกิดจากการเขียนโดยสาธารชน และทำการส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ ทาง mesati.com ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้แสดงความคิดเห็นที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นท่านอื่นจึงควรใช้วิจารญาณในการอ่านความคิดเห็น ถ้าหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฏหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อผู้เสียชีวิต หรือ ญาติมิตรของผู้เสียชีวิต กรุณาส่ง email มาที่ suppport@mesati.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบ ขอขอบพระคุณผู้ใช้บริการ mesati.com ทุกท่าน ณ โอกาสนี้

ตะกร้าสินค้า

ไม่มีพวงหรีดในตระกร้าของท่าน

วัน - เวลาสั่งซื้อพวงหรีด

สั่งซื้อพวงหรีด

24 ชม.

จัดส่งเวลา

8.30 - 18.00 น.

วันทำการ

จันทร์ - เสาร์

ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

(วันเสาร์กรุณาติดต่อโดยโทรศัพท์)

เพิ่มเพื่อน
  • เว็บในเครือ



มีสติบนสื่อไทย